สวัสดีคุณครูทุกท่านค่ะ ปี 2565 ใกล้เข้ามาแล้วนะคะ ทาง ใบงาน.คอม จึงได้ สรุประเบียบการลาของข้าราชการครู ทั้ง 11 ประเภท มาให้คุณครูได้ศึกษาการลาแต่ละประเภทกันค่ะ เพื่อจะได้นำไปวางแผนสำหรับการลา ในปี 2565 ที่จะมาถึงนี้ สามารถดาวน์โหลดเป็นเอกสารไปศึกษากันได้ค่ะ ที่ลิงค์ด้านล่างเลยค่ะ
ข้าราชการทุกประเภทจะใช้ระเบียบการลาเดียวกันคือ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาข้าราชการ พ.ศ.2555 ระเบียบการลาการลา แบ่งออกเป็น 11 ประเภท คือ
- การลาป่วย
- การลาคลอดบุตร
- การลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร
- การลากิจส่วนตัว
- การลาพักผ่อน
- การลาอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์
- การลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล
- การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย
- การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
- การลาติดตามคู่สมรส
- การลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ
รายละเอียดระเบียบการลาการลาแต่ละประเภท
1.การลาป่วย
– ปีละไม่เกิน 60 วันทำการ
– กรณีจำเป็นผู้มีอำนาจสามารถให้ลาได้อีกไม่เกิน 60 วันทำการ
– เสนอใบลา ก่อน/ในวันลา
– ลาตั้งแต่ 30 วันขึ้นไป ต้องมีใบรับรองแพทย์
– แม้ไม่ถึง 30 วันแต่ผู้มีอำนาจฯ จะสั่งให้มีใบรับรองแพทย์/ใบรับการตรวจจากแพทย์ก็ได้
2.การลาคลอดบุตร
– สามารถลาได้ไม่เกิน 90 วัน/ครั้ง
– ไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์
– ต้องเสนอใบลา ก่อน/ในวันลา
– สามารถลาวันที่คลอด/ก่อนวันที่คลอดก็ได้
– ถ้าลาแล้วไม่ได้คลอดให้ถือว่าวัีนที่หยุดไปแล้วเป็นวันลากิจส่วนตัว
– การลาคลอดที่คาบเกี่ยวกับลาประเภทอื่นซึ่งยังไม่ครบ ให้ถือว่า ลาประเภทอื่นสิ้นสุดและให้นับเป็นวันเริ่มลาคลอดบุตร
3.การลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร
– ลาไปช่วยเหลือภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย
– ลาได้ครั้งหนึ่งติดต่อกันได้ไม่เกิน 15 วันทำการ
– เสนอใบลา ก่อน/ในวันลาภายใน 90 วัน
-ได้รับเงินเดือนระหว่าลา
4.การลากิจส่วนตัว
– ลาได้ไม่ปีละไม่เกิน 45 วันทำการ
– ปีแรกที่เข้ารับราชการ ลาได้ไม่เกิน 15 วัน
– ลากิจเพื่อเลี้ยงดูบุตร (ต่อจากลาคลอดบุตร) ลาได้ไม่เกิน 150 วันทำการ (ไม่ได้รับเงินเดือน)
– การเสนอใบลา ต้องได้รับอนุญาตก่อนจึงจะสามารถหยุดได้
– หากมีราชการจำเป็น : สามารถเรียกตัวกลับได้
5.การลาพักผ่อน
– สามารถลาได้ปีละ 10 วันทำการ
– สามารถสะสมได้ไม่เกิน 20 วันทำการ
– สามารถสะสมได้ไม่เกิน 30 วันทำการ (รับราชการ 10 ปีขึ้นไป)
– ถ้าบรรจุไม่ถึง 6 เดือน : ไม่มีสิทธิ์
– หากเสนอใบลาต้องได้รับอนุญาตก่อนจึงหยุดได้
– ถ้ามีราชการจำเป็น : สามารถเรียกตัวกลับได้
6.การลาอุปสมบท/ประกอบพิธีฮัจย์
กรณีไม่เกิน 120 วัน
– ต้องไม่เคยลาประเภทนี้มาก่อน
– รับราชการไม่น้อยกว่า 1 ปี
การเสนอใบลา
– ก่อนอุปสมบท หรือเดินทางไม่น้อยกว่า 60 วัน
– อุปสมบท หรือเดินทางภายใน 10 วัน
– เสร็จแล้ว รายงานตัวภายใน 5 วัน
– หากลาแล้วขอถอนวันลา ถือว่าวันที่หยุดไปเป็นวันลากิจส่วนตัว
7.การเข้ารับการตรวจเลือก/เตรียมพล
เข้ารับการตรวจเลือก : เพื่อรับราชการเป็นทหารกองประจำการ
– ให้รายงานผู้บังคับบัญชาก่อนไม่น้อยกว่า 48 ชม.
เข้ารับการเตรียมพล : เข้ารับการระดมพล ตรวจสอบพล ฝึกวิชาการทหาร ทดสอบความพรั่งพร้อม
– รายงานผู้บังคับบัญชาภายใน 48 ชม. นับแต่รับหมายเรียก
ลาได้ตามระยะเวลาของภารกิจในหมายเรียก
เสร็จภารกิจให้กลับภายใน 7 วัน (ต่อได้รวมแล้วไม่เกิน 15 วัน)
8.การลาศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย
ได้รับเงินเดือนไม่เกิน 4 ปี ต่อได้รวมไม่เกิน 6 ปี
พ้นทดลองงาน
เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับ จนถึงหัวหน้าส่วนราชการ (ในประเทศ) หรือถึงปลัดกระทรวง (ต่างประเทศ)
กรณีต่างประเทศ
– ไปศึกษา/ปฏิบัติการวิจัย ต้องรับราชการมาไม่น้อยกว่า 1 ปี
ลาศึกษาต่อในประเทศ (กรณีให้ได้รับเิงินเดือน)
– หลักสูตรที่ไม่สูงกว่าปริญญาตรี สามารถลาได้มีกำหนดเท่ากับระยะเวลาของหลักสูตร
– หลักสูตรปริืญญาโท สามารถลาได้ 2 ปี
– หลักสูตรปริญญาเอก สามารถลาได้ 4 ปี
หมายเหตุ : สามารถขยายเวลาศึกษาได้ครั้งละ 1 ภาคการศึกษา รวมแล้วไม่เกิน 2 ครั้ง หรือไ่ม่เกิน 1 ปีการศึกษา
– สาขาวิชา/ระดับการศึกษา : สอดคล้องเป็นประโยชน์กับงาน/มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
– ต้องพ้นจากการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการแล้ว
– กรณีที่เคยได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาเพิ่มเติมฯ จะต้องกลับมาปฏิบัติราชการแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี
– ต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่า และรับราชการติดต่อมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
– ต้องทำสัญญากับส่วนราชการเจ้าสังกัดว่าจะกลับมาปฏิบัติราชการเป็นเวลาไม่น้อยกว่าระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาเพิ่มเติม หรือปฏิบัติการวิจัยแล้วแต่กรณี
– ทำสัญญาชดใช้
(ศึกษา/ฝึกอบรม ต่างประเทศ : เวลา 1 เท่า)
(ศึกษาในประเทศ : เวลาไ่ม่น้อยกว่า 1 เท่า)
หมายเหตุ : หากไ่ม่กลับมารับราชการ : ชดใช้เงิน + เบี้ยปรับ
9.การลาไปปฏิบัติงานในองค์กรระหว่างประเทศ
การลาไปปฏิบัติงานฯ มี 2 ประเภท ได้แก่
ประเภทที่ 1
– องค์การฯ ซึ่งไทยเป็นสมาชิก และถึงวาระต้องส่ง
– รัฐบาลไทยมีข้อผูกพันที่จะต้องส่งฯ ตามความตกลงระหว่างประเทศ
– ไปศึกษา/ปฏิบัติการวิจัย ต้องรับราชการมาไม่น้อยกว่า 1 ปี
– ส่งเพื่อพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของประเทศตามความต้องการรัฐบาลไทย
ประเภทที่2
– นอกเหนือจากประเภทที่ 1
10.การลาติดตามคู่สมรส
เป็นคู่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็น ข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ
ลาได้ไม่เกิน 2 ปี
– ต่อได้อีก 2 ปี รวมไม่เกิน 4 ปี
– ถ้าเกินให้ลาออก
ไม่ได้รับเงินเดือนระหว่างลา
ผู้มีอำนาจจะอนุญาตให้ลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งก็ได้ และคู่สมรสต้องอยู่ปฏิบัติหน้าที่ราชการติดต่อกัน
ครบกำหนด 4 ปี ไม่มีสิทธิลา ยกเว้นคู่สมรสกลับมาแ้ล้วและได้รับคำสั่งให้ไปอีก
11.การลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ
ข้าราชการผู้ได้รับอันตรายหรือการป่วยเจ็บเพราะเหตุปฏิบัติราชการในหน้าที่ ถูกประทุษร้ายเพราะเหตุกระทำการตามหน้าที่ จนทำให้ตกเป็นผู้ทุพพลภาพหรือพิการ
– ลาไปฟื้นฟูด้านอาชีพได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหลักสูตรที่ประสงค์จะลา แต่ไม่เกิน 12 เดือน
ข้าราชการที่ได้รับอันตรายหรือการป่วยเจ็บจนทำให้ตกเป็นผู้ทุพพลภาพหรือพิการเพราะเหตุอื่น
– ลาไปฟื้นฟูด้านอาชีพได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหลักสูตรที่ประสงค์จะลา แต่ไม่เกิน 12 เดือน
จัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจพิจารณา หรืออนุญาตพร้อมแสดงหลักฐานเกี่ยวกับหลักสูตรที่ประสงค์จะลา และเอกสารที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) เพื่อพิจารณาอนุญาต
คลิกที่นี่!! เพื่อดาวน์โหลดเอกสาร
ขอขอบคุณที่มา : รวมพลคนสอบครูผู้ช่วย วิทยากร บัวแสงใส