พัฒนาการลูก 6 ปี 3 เดือน
มาดูเหตุการณ์สำคัญที่อาจเกิดขึ้นกับลูกวัย 6 ขวบ 3 เดือนของคุณ
แล้วลูกน้อยของเราก็เข้าสู่อายุ 6 ขวบ 3 เดือนแล้ว ช่วงเวลานี้ การเล่นเป็นปัจจัยสำคัญ สำหรับลูกน้อยมาก การเล่นกลายเป็นเรื่อง ซับซ้อนขึ้นมากๆ เด็กในวัย 6 ขวบ 3 เดือน จะมีกิจกรรมที่เปลี่ยนไปจากวัยอื่นๆ โดยในช่วงนี้ จะเห็นได้ว่า ลูกน้อยของเรา ชอบเล่น บทบาทสมมุติ ละคร เช่น เล่นครอบครัว แบ่งกันเป็นพ่อ แบ่งกันเป็นแม่ เต็มไปด้วย จินตาการและบทละคร สำหรับลูกในวัย 6 ขวบ 3 เดือน ควรที่จะมีพัฒนาการอย่างไร วันนี้เรามาดูกันค่ะ
พัฒนาการทางร่างกายและการเคลื่อนไหว ของเด็กวัย 6 ขวบ 3 เดือน
เด็กในวัย 6 ปี 3 เดือน จะมีความกระฉับกระเฉงขึ้นกว่าเดิมเยอะมาก กล้ามเนื้อเล็กและใหญ่ กำลังถูกพัฒนาเรื่อยๆ และลูกในวัยนี้จะแอคทีฟตลอดเวลา ไม่ว่าจะตอนนั่งดูทีวีเฉยๆ หรือ แม้กระทั่ง ตอนนอน ก็ยังไม่นิ่ง เพราะฉะนั้นไม่ต้องกลัวนะคะ การที่แอฟทีฟ เป็นเรื่องปกติ ของเด็กวัย 6 ขวบ 3 เดือน
ลูกน้อยในวัยนี้จะเริ่มแสดงความสนใจในกีฬา ประเภทเล่นเป็นทีม เช่น ฟุตซอล, ฟุตบอล เป็นต้น นี่อาจจะเป็นโอกาสที่ดีในการแนะนำกิจกรรมกีฬาที่หลากหลายซึ่งลูกของคุณจะสามารถเลือกได้ว่ากีฬาไหนใช่ที่สุด
นอกจากกิจกรรมต่างๆแล้ว ที่ลูกสนใจแล้ว ในช่วงนี้ ลูกวัย 6 ขวบ 3 เดือนก็จะเริ่มอยากจะช่วยงานเรามากขึ้น ทั้งรับของจากบุรุษไปรษณีย์และหวีผมของตัวเอง
น้ำหนักและส่วนสูงของลูกวัย 6 ขวบ 3 เดือน โดยเฉลี่ย
ลูกชายวัย 6 ขวบ 3 เดือน
ส่วนสูง : 117.3 เซนติเมตร
น้ำหนัก : 21.4 กิโลกรัม
ลูกสาววัย 6 ขวบ 3 เดือน
ส่วนสูง : 116.7 เซนติเมตร
น้ำหนัก : 20.9 กิโลกรัม
ร่างกายและการเคลื่อนไหว พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 3 เดือนที่ทำได้
- ปั่นจักรยาน
- ยืนขาเดียวได้ในระยะสั้นๆ
- เดินบนส้นเท้า
- เดินลงบันไดเองโดยไม่จับมือ
- มัดเชือกรองเท้า
- ติดกระดุม หรือ รูดซิปเอง
- หวีผมเอง
- ขว้างและรับลูกบอล
- วาดรูปเหมือนจริงมากขึ้น เช่น วาดรูปคน มี หู ตา ปาก จมูก แขนขา
- ใช้ดินสอลอกลายต่างๆได้
- เขียนชื่อตัวเองได้
เคล็ดลับด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว สำหรับเด็ก 6 ขวบ 3 เดือน
- ส่งเสริมให้ลูกทำกิจกรรมนอกบ้าน หรือพาลูกไปเล่นกีฬา
- สอนให้ลูกรู้จักทำกิจกรรมกับผู้อื่น
- สอนให้ลูกรู้จักภัยจากไฟ
- ส่งเสริมให้ลูกเรียนว่ายน้ำ
- เด็กในวัย 6 ขวบ 3 เดือนสามารถบ่นถึงอาการเจ็บปวดภายนอกได้ เช่น ปวดท้อง และ ปวดขา ผู้ปกครองควรดูให้ดีว่าลูกเป็นอะไรหรือเปล่า
เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 6 ขวบ 3 เดือน ไปพบกุมารแพทย์
- หากลูกของคุณประสบปัญหากับการมองเห็นอย่างชัดเจนและสม่ำเสมอ ควรพาลูกไปพบแพทย์
- ลูกกลับมาฉี่รดที่นอนอีกครั้ง หากลูกเคยหยุดฉี่รดที่นอนแล้ว แต่กลับมาฉี่รดที่นอนอีกครั้งควรไปพบแพทย์
- เมื่อลูกมีปัญหาการนอนตอนกลางคืน นอนไม่หลับ
พัฒนาการทางความคิด สติปัญญา และการเรียนรู้ ของเด็กวัย 6 ขวบ 3 เดือน
ลูกน้อยวัย 6 ขวบ 3 เดือน ช่วงนี้มีการเจริญเติบโตทางความคิด และ สติปัญญา มีความซับซ้อนมากขึ้น ลูกของเรา จะมีการโฟกัสเรื่องอะไรยาวนานมากขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น ลูกยังสามารถเข้าใจแนวคิดที่เรียบง่าย เช่น รู้ว่า วันนี้ พรุ่งนี้ เมื่อวาน จดจำคำศัพท์ พยายามที่จะอ่านด้วยตัวเอง
รวมถึงลูกจะชอบรับฟังความเห็น ของ มุมคนอื่นมากขึ้น เพราะมันจะทำให้พวกเขารู้สึกว่าหาเพื่อนได้ง่ายขึ้น
ความคิด สติปัญญา และการเรียนรู้ พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 3 เดือนที่ทำได้
- เข้าใจแนวคิดของตัวเอง
- เข้าใจ ซ้าย และ ขวา รวมถึง กลางวัน และ กลางคืน
- มีความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับทุกเรื่อง
- คิดเรื่องซับซ้อนได้มากขึ้น
- รู้สึกตระหนักในเรื่องที่ถูกและผิด
- บอกเวลาได้
- อยากไปโรงเรียนก่อนเวลา 15 นาที
เคล็ดลับด้านความคิด สติปัญญา และการเรียนรู้ สำหรับเด็ก 6 ขวบ 3 เดือน
บางครั้งลูกของคุณอาจจะมีปัญหา หรือ ขัดแย้ง กับเพื่อนที่โรงเรียน สิ่งทีเ่ราทำได้คือ ให้ความแนะนำ และแสดงความรัก เพื่อให้ลูกสามารถผ่านปัญหาและความขัดแย้งได้
เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 6 ขวบ 3 เดือน ไปพบกุมารแพทย์
- เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่ท้าทาย
- เมื่อลูกแสดงพฤติกรรมที่วิตกกังวลหรือซึมเศร้า
- ลูกไม่อยากจะแยกจากคุณเลย
- ไม่สามารถที่จะทำรับฟังสองคำสั่งในเวลาเดียวกัน
พัฒนาการทางอารมณ์และสังคม ของเด็กวัย 6 ขวบ 3 เดือน
ลูกในวัย 6 ขวบ 3 เดือน มีความสามารถในการแสดงความรู้สึกของตัวเองได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อรับมือกับอารมณ์ที่ยุ่งยาก เช่น ไม่พอใจ อิจฉา ลูกอาจจะยังไม่สามารถรักษาอารมณ์ได้ ความหมายก็คือลูกสามารถควบคุมอารมณ์ได้ในระดับหนึ่ง แต่ถ้าเรื่องที่ความโกรธหรือความเศร้า
ลูกจะไม่สามารถควบคุมได้ เด็กในวัยนี้ จะเริ่มคิดออกแล้วว่าตัวเองชอบอะไร เหมาะอะไร กับ ไม่เหมาะกับอะไร และ ในวัยนี้ลูกจะเริ่มเรียนรู้สิ่งที่ผิดหรือถูก การโกหก หรือ การพูดความจริง
อารมณ์และสังคม พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 3 เดือนที่ทำได้
- ลูกจะชอบให้ความสำคัญในเรื่องการยอมรับจากเพื่อน
- เริ่มต้นในการพัฒนาทักษะความสนใจ
- เข้าใจคุณค่าของการทำงานเป็นทีมในกีฬา
- เพิ่มระดับความอดทนและเปิดกว้างมากขึ้น
เคล็ดลับด้านอารมณ์และสังคม สำหรับเด็ก 6 ขวบ 3 เดือน
- อย่าอายที่จะพูดถึงเรื่องแรงกดดันจากเพื่อน การ ทะเลาะกับเพื่อน กับลูก
- ให้ลูกตัดสินใจเกี่ยวกับกีฬาหรือกิจกรรมด้วยตัวเอง
- สนับสนุนเรื่องการเคารพตัวเองของลูก
- ลองให้ลูกช่วยทำง่านบ้านง่ายๆ เช่น จัดโต๊ะ หรือ ถอดเสื้อผ้าของตัวเอง
- จัดวันเล่นระหว่างลูกกับเพื่อน
- พูดคุยเรื่องความรู้สึกของตัวเองกับลูก
เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 6 ขวบ 3 เดือน ไปพบกุมารแพทย์
- เมื่อลูกของคุณขี้อายหรือเงียบมากหลังจากกลับมาจากโรงเรียน
- มีสัญญาณการโดนรังแก
- เมื่อลูกแสดงอาการก้าวร้าว
พัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร ของเด็กวัย 6 ขวบ 3 เดือน
เมื่อลูกอายุ 6 ขวบ 3 เดือน ลูกมีอะไรที่จะพูดมากมายถึงแม้ จะไม่มีใครอยู่ในห้อง ลูกจะหาเรื่องพูดคนเดียว นอกจากนี้สมองของลูกมักจะคิวไปก่อนสิ่งที่เขาจะแสดงออกมา ในขณะที่ลูกเริ่มพูดด้วยประโยคที่เต็ม ซับซ้อน และมีส่วนร่วมในการสนทนาที่เหมือนผู้ใหญ่ แต่เอาจริงๆแล้วลูกอาจจะยังไม่สามารถอธิบายความคิดและเหตุการณ์ได้ทั้งหมด เพราะฉะนั้นต้องให้ลูกพูดช้าๆชัดๆ ในช่วงนี้ลูกจะเริ่มเข้าใจมุขตลก มากขึ้น เพราะจากในโรงเรียนและจากชีวิตประจำวันทำให้ลูกเข้าใจมุขตลกค่ะ
ภาษาและการสื่อสาร พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 3 เดือนที่ทำได้
- เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ได้มากถึง 5 – 10 คำในแต่ละวัน
- สามารถพูดประโยคยาวๆได้แล้ว
- เริ่มเห็นว่าบางคำมีความหมายกว่าหนึ่ง
- เริ่มอ่านหนังสือที่เหมาะกับอายุของลูก
- สามารถออกเสียงคำยากๆได้
เคล็ดลับสำหรับเด็ก 6 ขวบ 3 เดือน
- ทำความรู้จักกับครูของลูก
- สลับกันอ่านหนังสือให้กันฟัง
- มีส่วนร่วมในการทำการบ้านของลูก ช่วยในส่วนที่จำเป็นเท่านั้น
- คุยกับลูกเรื่องสัตว์เลี้ยงหรือกีฬาที่ลูกชอบ เพราะ จะทำให้ลูกถูกกระตุ้น ให้ฟังและ ตั้งคำถาม
เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 6 ขวบ 3 เดือน ไปพบกุมารแพทย์
- มีปัญหาในการอ่าน และ สัญญาณอื่นๆที่เป็นไปได้ถึงความผิดปกติ
- ลูกโดนรบกวน เช่น ถูกกลั่นแกล้ง
- สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกกำลังตกอยู่ในความเครียด
สุขภาพและสารอาหาร
กุญแจสำคัญเกี่ยวกับสุขภาพของลูกวัย 6 ปี 3 เดือนคือ การกินอาหาร และ ออกกำลังกาย ลูกควรออกกำลังกาย อย่างน้อย 60 นาที สำหรับทั้งเด็กและผู้ปกครอง ควรให้ลูกมุ่งเน้นในการเพลิดเพลินกับผลไม้ผัก และ ออกกำลังกาย และควรให้ลูกอยู่ในเกณฑ์น้ำหนักที่ระดับปกติ ท้ายที่สุดคือให้ลูกเป็นเด็กที่มีทัศนคติที่ดีต่ออาหาร คือ เป็นคนไม่เลือกกิน และสามารถ กินได้ ทั้งผัก และ ผลไม้
ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วเด็กวัย 6 ขวบ 3 เดือน นั้นต้องการอาหารอยู่ที่
เด็กผู้ชายต้องการ 1,773 กิโลแคลอรี่ ต่อวัน
เด็กผู้หญิงต้องการ 1,664 กิโลแคลอรี่ ต่อวัน
เคล็ดลับเรื่องอาหารและสุขภาพของเด็ก 6 ปี 3 เดือน
- พ่อแม่ควรหมุนเวียนเมนูใหม่ๆ ให้ลูกได้ลองกิน เพราะจะช่วยให้ลูกไม่เบื่ออาหาร
- ควรให้ลูกกินผักและผลไม้เป็นของว่าง โดยหั่นผลไม้ล้างและวางไว้ในตู้เย็นเพื่อลูกจะหยิบกินง่าย
- เสิร์ฟสลัดบ่อยขึ้น
- ให้ลูกกินอาหารที่มีความเน้นผัก
- กินไข่มากขึ้น
อาการป่วยของเด็ก 6 ขวบ 3 เดือน
ถ้าลูกมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ความสูงไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ควรพาลูกไปปรึกษากุมารแพทย์ นอกจากนี้ อาการทางผิวหนังอื่น ๆ ก็เป็นจุดสังเกตให้พ่อแม่พาลูกไปพบแพทย์ได้เช่นกัน อาทิ ลูกมีผื่นคัน ผื่นแดง มีร่องรอยฟกช้ำ ปูดบวม ช้ำเขียว
ในหลาย ๆ โรงเรียน จะพูดคุยกับพ่อแม่เรื่องการฉีดวัคซีนให้กับลูก บางโรงเรียนจะจัดให้มีการฉีดวัคซีนภายในโรงเรียน แต่ถ้าไม่มี ลองตรวจเช็คได้ที่ ตารางการให้วัคซีนในเด็กไทยปกติ พ.ศ. 2562
การเล่นของเด็กวัยนี้เป็นปัจจัยที่สำคัญมากอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นบทบาทสมมุติ จินตนาการ การแบ่งปัน รู้จักถึงการให้ มากกว่าการเป็นฝ่ายรับเพียงอย่างเดียว เด็กในวัยนี้จะเริ่มเข้าใจคำพูดหรือบทสนทนาใด้ดีมากขึ้น
ที่มา: sg.theasianparent