พัฒนาการลูก 6 ปี 8 เดือน
ลูกน้อยในตอนนี้ก็มาถึงอายุ 6 ปี 8 เดือนแล้ว เป็นช่วงเวลาที่ใกล้จะก้าวเข้าสู่ 7 ขวบอย่างแท้จริง โดยธรรมชาติในช่วงนี้ลูกตื่นเต้น และ ตื่นตัวกับทุกเรื่อง พ่อแม่จะเห็นได้ว่าลูกสามารถเขียนชื่อ และ นามกสุล ได้ อย่างง่ายดาย
ช่วงเวลานี้ลูกจะมีความกระตือรือร้นที่จะลองทำสิ่งใหม่ๆ ที่อาจจะโลดโผนได้ และบางครั้งอุปกรณ์ในบ้าน ก็อาจจะเป็นอันตรายได้ เพราะฉะนั้นต้องเก็บให้ดี
ในขณะที่ลูกของคุณเริ่มเข้าใจความแตกต่างระหว่างความจริง กับ เรื่องสมมุติ แต่ในวัยนี้ ลูกก็ยังสนุกกับการเล่นบทบาทสมมุติอยู่
ลองมาดูเหตุการณ์พัฒนาการสำคัญของลูกวัย 6 ปี 8 เดือน
พัฒนาการทางร่างกายและการเคลื่อนไหว ของเด็กวัย 6 ขวบ 8 เดือน
เมื่ออายุ 6 ปี 8 เดือน ลูกจะได้รับทักษะทางกายภาพที่หลายหลาย ตั้งแต่ เทควันโด ฟุตบอล จนถึงการข้วางปา ลูกบอล ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกิจกรรมที่มีส่วนรวมในทีม
ในวัยนี้ลูกมีความสามารถในการเคลื่อนไหว อย่างมาก สามารถโยนและจับลูกบอล และเดินไปมาได้ เป็นโอกาสที่ดี ในช่วงเวลานี้ที่พ่อแม่จะมีส่วนร่วมในการออกกำลังกาย และ ทำกิจกรรมกับลูก
พ่อแม่จะสังเกตว่าลูกสามารถกระโดดเชือกได้เก่งมากขึ้น และ สามารถแก้ไขปัญหา ได้ดีขึ้น แต่ก็เป็นช่วงเวลาที่ลูก จะยอมแพ้ง่ายขึ้น เพราะฉะนั้นพ่อแม่ควรค่อยๆโน้มน้าวให้ลูกมีกำลังใจในการทำกิจกรรมใด กิจกรรมหนึ่ง ให้นานขึ้น
ลูกชายวัย 6 ขวบ 8 เดือน
ส่วนสูง : 119.9 เซนติเมตร
น้ำหนัก : 22.4 กิโลกรัม
ลูกสาววัย 6 ขวบ 8 เดือน
ส่วนสูง : 119.6 เซนติเมตร
น้ำหนัก : 22.0 กิโลกรัม
ร่างกายและการเคลื่อนไหว พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 8 เดือนที่ทำได้
- วาดรูปร่างสิ่งต่างๆได้ดียิ่งขึ้น
- เขียนชื่อและนามสกุลได้ถูกต้อง
- สามารถร้องเพลงได้ตามจังหวะเพลง
- สามารถประสานมือได้
- ทำตามคำแนะนำของพ่อแม่ได้
- สามารถแต่งตัว และ ผูกเชือกรองเท้าได้เก่งขึ้น
- สามารถแยกเลนถนนได้
เคล็ดลับด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว สำหรับเด็ก 6 ขวบ 8 เดือน
- ส่งเสริมให้ลูกทำกิจกรรมที่เขาสนใจจริงๆ หรือ อยู่กับสิ่งที่เขาชอบ
- กระตุ้นให้ลูกออกไปเล่นข้างนอก
- ส่งเสริมให้ลูกออกกำลังกายอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมง
- มีส่วนร่วมในการเล่นกีฬากับลูก จะได้สร้างเวลารวมกัน
- กระตุ้นให้ลูกฝึกเขียนบ่อยๆ
- ป้องกันลูกจาอุบัติเหตุใดๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้
- เสริมสร้างความมั่นใจในทุกด้านของชีวิต
- เข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนและกีฬาของรูป
- พูดคุยกับลูกในรู้จักการขอความช่วยเหลือ
- เก็บผลิตภัณฑ์เครื่องมือ อุปกรณ์ ช่าง หรือ ของเป็นที่เป็นอันตรายให้พ้นมือลูก
เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 6 ขวบ 8 เดือน ไปพบกุมารแพทย์
- ลูกกลับมาฉี่รดที่นอนอีกครั้ง หากลูกเคยหยุดฉี่รดที่นอนแล้ว แต่กลับมาฉี่รดที่นอนอีกครั้งควรไปพบแพทย์
- เขียนชื่อ นามสกุลตัวเองไม่ได้
- ไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆได้
พัฒนาการทางความคิด สติปัญญา และการเรียนรู้ ของเด็กวัย 6 ขวบ 8 เดือน
สมาธิในวัย 6 ขวบ 8 เดือน จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ลูกจะมีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ลูกจะสามารถตอบคำถามได้ดียิ่งขึ้น และสามารถบอกได้ว่าลูกรู้สึกยังไงกับบางเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
เป็นช่วงเวลาที่ลูกจะสามารถใช้คำพูดได้ดีขึ้น สามารถมองเห็นมุมของคนอื่นได้ง่ายขึ้น และ เป็นช่วงเวลาที่ลูกจะทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ๆ ผู้คนใหม่ๆมากขึ้น
ความคิด สติปัญญา และการเรียนรู้ พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 8 เดือนที่ทำได้
- ความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับสาเหตุ และ ผลกระทบความสัมพันธ์
- วาดรูปบุคคลได้ดีขึ้น
- สามารถเขียนเรื่องสั้นได้
- เข้าใจแนวคิดของตัวเลข
- พัฒนาทักษะการใช้เหตุผล
- สามารถเลือกสิ่งต่างๆที่ลูกต้องการได้
- สามารถอ่านหนังสือได้ถึง 200 คำ
เคล็ดลับด้านความคิด สติปัญญา และการเรียนรู้ สำหรับเด็ก 6 ขวบ 8 เดือน
- แสดงความรักต่อลูกคุณ
- สอนให้ลูกรู้จักการเคารพความคิดและความรู้สึกคนอื่น
- สอนลูกว่าไม่จำเป็นต้องมี หรือ ชนะกับทุกเรื่อง
- เป็นช่วงเวลาที่ลูกมีคำถามเยอะมาก ต้องใช้ความอดทน
- สอนให้ลูกเลือกของที่ดี
เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 6 ขวบ 8 เดือน ไปพบกุมารแพทย์
- มีปัญหาในการอ่าน หรือ แสดงความเป็นไปได้ของความพิการ
- มีสิ่งรบกวนลูกของคุณ เช่น การถูกกลั่นแกล้ง
- ปัญหาสุขภาพจิต และ ความเครียด
- อยากที่จะสนุก หรือ เล่นคนเดียวมากกว่า
- ไม่สนุกกับการทำกิจกรรมกับกลุ่มคน
พัฒนาการทางอารมณ์และสังคม ของเด็กวัย 6 ขวบ 8 เดือน
การเล่นเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาสังคม ในเด็กวัย 6 ขวบ 8 เดือน ซึ่งมิตรภาพถูกสร้างขึ้นในปีนี้ ในช่วงเวลานี้ ลูกของคุณ จะมีเพื่อนที่ดีที่สุด และ มีแนวโน้มจะเป็นเพศเดียวกัน
และความมั่นใจในตัวเองของลูกในวัยนี้ จะโดดเด่นขึ้น ซึ่งช่วงนี้ลูกจะมีความภูมิใจในความสำเร็จอย่างมาก ในการทำต่างๆ เช่น การเล่นกีฬา เป็นต้น
อารมณ์และสังคม พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 8 เดือนที่ทำได้
- สนุกกับการทำกิจกรรมในโรงเรียน
- ต้องการให้เพื่อนพอใจในทุกเรื่อง
- อยากเติบโตและต้องการอิสระมาากขึ้น
- ต้องการความรัก จาก ผู้ปกครอง และ ครู
- ลูกต้องการเอาชนะในเรื่องกิจกรรม และ กีฬา
- ลูกเสียใจ เวลา โดนตำหนิ หรือ ลงโทษ
- เริ่มเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น
เคล็ดลับด้านอารมณ์และสังคม สำหรับเด็ก 6 ขวบ 8 เดือน
- เริ่มเรียนรู้กิจกรรมต่างๆ เช่น บันไดงู และ เกมกระดานต่างๆ
- ควรติดต่อกับผู้ปกครองของเพื่อนลูก
- เข้าใจความลึกซึ้งของมิตรภาพของลูก
- ให้ลูกตัดสินใจเกี่ยวกับกิจกรรม และ กีฬา ของตัวเอง
- จำกัดชั่วโมง การเล่นโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ และ โทรทัสศน์
- ตรวจสอบการนอนพักผ่อนและการใช้เวลาเกี่ยวกับครอบครัว
- ให้ลูกเรียนรู้เกี่ยวกับการทำ และ ผลลัพธ์
เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 6 ขวบ 8 เดือน ไปพบกุมารแพทย์
- ลูกไม่ค่อยมีเพื่อน
- ไม่สามารถทำตามคำแนะนำของพ่อแม่ได้
- ลูกมีการแสดงพฤติกรรมที่ก้าวร้าวและรุนแรง
พัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร ของเด็กวัย 6 ขวบ 8 เดือน
เมื่ออายุ 6 ขวบ 8 เดือน ลูกจะพูดมากหน่อยในช่วงนี้ พ่อแม่ จะสังเกตว่าลูกจะสามารถทำตามคำแนะนำของพ่อแม่ได้ และลูกสามารถรักษา บทสนทนา กับคนรอบข้างและสามารถผลัดกันพูดได้
เด็กอายุ 6 ขวบ 8 เดือน จะสามารถสบตา กับคู่สนทนาได้ และ สามารถใช้ภาษาพูดได้ดีขึ้น สามารถชักชวนคนอื่นทำในสิ่งที่ตัวเองต้องการได้
พ่อแม่จะสังเกตว่าลูกสามารถเล่า และ ขยายเรื่องราวได้ ลูกจะสามารถเล่าเหตุการณ์ประจำวันได้ดีขึ้น นอกจากนี้ลูกจะสามารถสะกดคำ และ จำคำศัพท์ได้ดีมากขึ้น
ภาษาและการสื่อสาร พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ 8 เดือนที่ทำได้
- ทำตามคำสั่งได้ชัดเจนมากขึ้น
- เข้าใจมุขตลกได้มากขึ้น
- แสดงการเติบโตด้านความคิด
- เริ่มอ่านหนังสือที่เหมาะกับอายุ
- รู้จัก กลางวัน กลางคืน ซ้าย ขวา
- สามารถบอกเวลาได้
- เห็นว่าบางคำมีมากกว่าหนึ่งความหมาย
- สลับตัวอักษรได้บ่อยขึ้น
เคล็ดลับสำหรับเด็ก 6 ขวบ 8 เดือน
- สนับสนุนในเรื่องการอ่าน
- ช่วยกันอ่านกับลูก เน้น กันสลับอ่าน
- เล่นเกมส์ถามตอบกับลูก
- สร้างแบบจำลองให้ลูกออกเสียงได้แม่นยำขึ้น
- สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์ โดยเน้นกระบวน การคิด
- ดูเรื่องการสะกดคำ และ ไวยากรณ์ ของลูก
เมื่อไหร่ที่ต้องพาลูกวัย 6 ขวบ 8 เดือน ไปพบกุมารแพทย์
- ไม่สามารถบอกซ้ายขวาได้
- ไม่สามารถสะกดคำง่ายๆได้
- ไม่ชอบที่จะอ่าน
- แสดงพฤติกรรมที่แย่ และ ท้าทาย
- ไม่สามารถทำตามคำสั่งของพ่อแม่ได้
- ไม่สามารถเขียนชื่อตัวเองได้
สุขภาพและสารอาหาร
เมื่ออายุ 6 ขวบ 8 เดือน ลูกจะต้องการอาหารเพื่อให้พลังงานและสารอาหารแก่เขา เพื่อเติบโต และ ต่อสู้กับความเจ็บป่วย การทานอาหารกับครอบครัวจะทำให้ลูกเพลิดเพลินในการกินอาหาร
ในวัยนี้ลูกจะเติบโต และ สูงขึ้นอย่างรวด ลูกจะเติบโตประมาณ 2.5 นิ้ว ขึ้นทุกปี เมื่อพูดถึงเรื่องน้ำหนัก จะขึ้น 2 ถึง 3 กิโลกรัมทุกๆปี
ลูกของคุณเติบโตสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เขาหรือเธอเติบโตประมาณ 2.5 นิ้ว (6 ถึง 7 ซม.) ทุกปี เมื่อพูดถึงเรื่องน้ำหนักตัวลูกของคุณจะได้รับน้ำหนักประมาณ 4-7 ปอนด์หรือ 2 ถึง 3 กิโลกรัมทุก ๆ ปีจนกระทั่งถึงวัยแรกรุ่น
ลูกในวัย 6 ปี 8 เดือน จะต้องการอย่างน้อย 1,600 ถึง 1,700 แคลอรี่ต่อวัน นี่เป็นช่วงเวลาที่จะสามารถปลูกฝังนิสัยการกินเพื่อสุขภาพของลูกได้ สิ่งนี้มีความสำคัญมาก เพราะ อาหารพวกนี้ช่วยในการเจริญเติบโตของเขา และ การพัฒนาในการเรียนรู้ของเขาด้วย
ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วเด็กวัย 6 ขวบ 8 เดือน นั้นต้องการอาหารอยู่ที่
เด็กผู้ชายต้องการ 1,812 กิโลแคลอรี่ ต่อวัน
เด็กผู้หญิงต้องการ 1,700 กิโลแคลอรี่ ต่อวัน
เคล็ดลับเรื่องอาหารและสุขภาพของเด็ก 6 ปี 8 เดือน
- ในวันไหนที่มีอาหารประเภทเนื้อ และ โปรตีน แนะนำให้จับคู่กับอาหารที่มีวิตามินซี เพื่อให้ร่างกายลูกสามารถดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น
- จำกัดขนาดอาหารของลูกให้เข้ากับน้ำหนักตัว
- ปล่อยให้ลูกได้ทานขนมบ้าง
- โยเกิร์ตกรีกไขมันต่ำ
- เนื้อสันในหมูหรือไก่หั่นเป็นชิ้น
- เนยถั่วและแซนวิชเยลลี่
- พาสต้ากับลูกชิ้น
- เสิร์ฟโยเกิร์ต คู่กับผลไม้
- ให้ลูกได้ลองช่วยพ่อแม่เข้าครัวเพื่อเสริมทักษะ โดยเป็นทักษะง่ายๆ เช่น ล้างผัก หรือ ผลไม้
อาการป่วยของเด็ก 6 ขวบ 8 เดือน
ถ้าลูกมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ความสูงไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ควรพาลูกไปปรึกษากุมารแพทย์ นอกจากนี้ อาการทางผิวหนังอื่น ๆ ก็เป็นจุดสังเกตให้พ่อแม่พาลูกไปพบแพทย์ได้เช่นกัน อาทิ ลูกมีผื่นคัน ผื่นแดง มีร่องรอยฟกช้ำ ปูดบวม ช้ำเขียว
ในหลาย ๆ โรงเรียน จะพูดคุยกับพ่อแม่เรื่องการฉีดวัคซีนให้กับลูก บางโรงเรียนจะจัดให้มีการฉีดวัคซีนภายในโรงเรียน แต่ถ้าไม่มี ลองตรวจเช็คได้ที่ ตารางการให้วัคซีนในเด็กไทยปกติ พ.ศ. 2562
เด็ก เปรียบเสมือนผ้าขาว เด็กจะมีพัฒนาการที่ดี หรือ มีการเปลี่ยนแปลงด้านใหนได้ดี จะขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูของพ่อแม่โดยตรง ไม่ว่าจะทักษะทางความเคลื่อนไหว ทักษะทางด้านความคิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทักษะทางอารมณ์ ดังนั้น พ่อและแม่ควรดูแลเด็กในช่วงวัยนี้อย่างไกล้ชิด
ที่มา: sg.theasianparent